แผนการจัดการเรียนรู้ที่
1
หน่วยการเรียนรู้ที่
1 การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ชื่อวิชาสังคมศึกษา ส 22101
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม
รายวิชา พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 เวลา 3 ชั่วโมง
เรื่อง การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อน
|
1. สาระสำคัญ
พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่การทำสังคายนา
พระไตรปิฎกครั้งที่
3 โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราชส่งสมณะทูตคือ
พระโสณะเถระและพระอุตตระเถระเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นรากฐานของวัฒนธรรม ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
ทำให้สังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกิดความสงบสุข
2. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
ส
1.1 รู้และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา
หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือ
ศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น
มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตาม
หลักธรรมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
ตัวชี้วัด
ส 1.1 ม.2/1
อธิบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด
1.
นำเสนอแนวทางในการส่งเสริมพระพุทธศาสนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(k)
2.
ศึกษาทำความเข้าใจการเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(P)
3.
เห็นความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ส่งผลต่อวิถีชีวิต วัฒนธรรม และความเชื่อของผู้คน
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(A)
3. สาระการเรียนรู้
(K)
ความรู้
1.
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
2.
การนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศเพื่อนบ้าน
3.
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(P)ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด
การจำแนก การให้เหตุผล การจัดระบบความคิดเป็นแผนภาพ การสรุปความรู้ การตอบคำถาม
(A)คุณลักษณะอันพึงประสงค์
รักชาติ ศาสน์
กษัตริย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มีจิตสาธารณะ
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
- ความสามารถในการสื่อสาร
- ความสามารถในการคิด
- ความสามารถในการแก้ปัญหา
-
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
บูรณาการ ภาษาไทย
การงานอาชีพ
อ่านประวัติความเป็นมาของการเผยแผ่พุทธศาสนาในประเทศเพื่อนบ้าน
ศึกษาค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ตในความรู้ต่างๆ
บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
ความพอประมาณ
มีเหตุผล
มีภูมิคุ้มกัน
ด้านความรู้
(K)
|
ด้านคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยม
(A)
|
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
|
1. ทดสอบก่อนเรียน
2. ซักถามความรู้เรื่อง
พระพุทธศาสนาใน
ประเทศเพื่อนบ้าน
3. ตรวจผลงาน/กิจกรรม
เป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
|
• ประเมินพฤติกรรมในการ
ทำงานเป็นรายบุคคลในด้าน
ความซื่อสัตย์สุจริต
ความวินัย
ความใฝ่เรียนรู้ ฯลฯ
|
•
ประเมินพฤติกรรมในการ
ทำงานเป็นรายบุคคลหรือเป็น
กลุ่มในด้านการสื่อสาร
การคิด
การแก้ปัญหา ฯลฯ
|
4. กระบวนการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียน เวลา 3 ชั่วโมง
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. ครูให้ทักทายนักเรียน แนะนำตัวเองให้นักเรียนทราบ
ให้นักเรียนจดคำอธิบายรายวิชา
สาระการเรียนรู้/ ตัวชี้วัด
หลังจากนั้นให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test)
ให้นักเรียนทดสอบพื้นฐานความรู้ก่อนเรื่องการเผยแผ่พุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านจัดกิจกรรมการเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่
1
ขั้นสอน
2.
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อประเทศเพื่อนบ้าน
แล้วให้นักเรียนสังเกตแผนที่แสดงประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีผู้นับถือพระพุทธศาสนา
และครูเล่าการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนภูมิภาคนี้ให้นักเรียนฟังพร้อมเขียนแผนภาพอธิบายประกอบ
3.
ให้นักเรียนร่วมกันศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในพม่า โดยการเล่าประวัติความเป็นมา
แล้วร่วมกันแสดงความคิดเห็น และครูสรุปวิวัฒนาการพระพุทธศาสนาในพม่า
สรุปความรู้เป็นแผนภาพ
4. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่ม
เพื่อศึกษาการเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศลาว กัมพูชา เวียดนาม
มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย โดยครูแจกแบบบันทึกข้อมูล
ให้แต่ละกลุ่มไปบันทึกเพื่อนำเสนอแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ระหว่างกลุ่มในชั่วโมงถัดไป
5.
ครูให้แต่ละกลุ่มที่ได้รับมอบหมายภาระงานออกมานำเสนอความรู้เกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเพื่อนบ้านหน้าชั้นเรียนโดยการส่งตัวแทนออกมารายงานหน้าชั้นเรียน
จากนั้นร่วมกันซักถามและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
จากนั้นครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ถามปัญหา
ขั้นสรุป
6.
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านสรุปลงในแผนภาพ
7
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหา
8.
ให้นักเรียนทำใบงานที่ 1 พระพุทธศาสนาในประเทศเพื่อนบ้าน
9.
ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน (Post-Test) เพื่อประเมินผลการเรียนรู้
5. แหล่งการเรียนรู้ / สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือแบบเรียน
2. อินเตอร์เน็ต
3. รูปภาพปูชนียสถานทางพระพุทธศาสนา
4. แบบบันทึกข้อมูล เรื่อง พระพุทธศาสนาในประเทศเพื่อนบ้าน
แผนที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
5. ใบงานที่ 1 พระพุทธศาสนาในประเทศเพื่อนบ้าน
6. การวัดผลและการประเมินผลการเรียนรู้
1. วิธีการวัดและประเมินผล
- สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม
- สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
2. เครื่องมือ
-
แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
-
แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
- แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
- แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
- แบบประเมินกิจกรรม/ใบงานรายบุคคล
- แบบประเมินผลงานกลุ่ม
- แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
3. เกณฑ์การประเมิน
3.1 การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน
ผ่าน 1 รายการ ถือว่า ไม่ผ่าน
3.2
การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
คะแนน 9-10 ระดับ ดีมาก
คะแนน 7-8 ระดับ ดี
คะแนน 5-6 ระดับ พอใช้
คะแนน 0-4 ระดับ ควรปรับปรุง
กิจกรรมเสริมการเรียนรู้
1.
แนะนำหนังสือให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมหรืออินเตอร์เน็ต
ห้องสมุดโรงเรียน
ใบความรู้
เรื่อง พุทธศาสนาในประเทศเพื่อนบ้าน
ประเทศพม่า :
พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าประเทศพม่าครั้งแรกที่เมืองสุธรรมวดีและรุ่งเรืองในสมัยพระเจ้าอนุรุทธทหาราชสถาปนาเมืองพุกามเป็นราชธานี
ปัจจุบัน :
ชาวพม่าร้อยละ 90 นับถือพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท
ประเทศกัมพูชา
: พระพุทธศาสนาในยุคแรกเป็นนิกายมหายาน
ในยุคอาณาจักรฟูนันพระพุทธศาสนากลับมาฟื้นฟูอีกครั้ง สมัยพระเจ้าหริรักษ์รามาธิบดี
โดยพระภิกษุชาวกัมพูชาเข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนาในกรุงเทพฯ
นำต้นแบบนิกายธรรมยุตเข้าไปเผยแผ่
ปัจจุบัน :
สถานการณ์พระพุทธศาสนามีแนวโน้ม
ดีขึ้น มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ขึ้น
คือ มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาพระสีหนุราช
ประเทศมาเลเซีย :
พระพุทธศาสนาเข้าสู่มาเลเซียพุทธ-
ศตวรรษที่ 12
แบบนิกายเถรวาทและนิกายมหายานในอาณาจักรศริวิชัย แต่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืฮ.
ได้ไม่นานเมื่อผู้ครองนครหันไปนับถือศาสนาอิสลาม
ปัจจุบัน : ยังมีผู้คนเสื้อสายจีนในมาเลเซียนับถือพระ-พุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่น
และรัฐบาลมาเลเซีย
ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ
ประเทศลาว :
พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ลาวในสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม อาณาจักรล้านช้าง
โดยนิมนต์พระสงฆ์จากลังกาเข้ามาเผยแผ่ศาสนาครั้งแรก
และฟื้นฟูพระพุทธศาสนาหลังสิ้นสุดสงครามโลกโดยศึกษานำแนวทางพระพุทธศาสนาจากประเทศไทยในพ.ศ.
2530
ปัจจุบัน :
ลาวมีวัดอยู่ 2,827 วัดพระสงฆ์และสามเณร 15,000 กว่ารูป
ประเทศเวียดนาม :
พระพุทธศาสนาในเวียดนามเป็นแบบนิกายมหายาน โดยเผยแผ่มาจากประเทศจีน และได้เลื่อมลงในยุคการเข้ามาล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก
ปัจจุบัน :
พระพุทธศาสนามีผู้คนนับถือไม่มากนัก
ชาวเวียดนามรุ่นใหม่นิยมไปเข้ารีดเพื่อนับถือศาสนาคริสต์ แต่ก็มีสหพุทธจักรเวียดนามได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยวันฮัน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งพระพุทธศาสนา
ชาวเวียดนามรุ่นใหม่นิยมไปเข้ารีดเพื่อนับถือศาสนาคริสต์ แต่ก็มีสหพุทธจักรเวียดนามได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยวันฮัน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งพระพุทธศาสนา
ประเทศสิงคโปร์
: พระพุทธศาสนาในสิงคโปร์เป็นแบบองค์กรต่าง ๆ ในรูปแบบของสังคมสงเคราะห์
ส่วนใหญ่นับถือนิกายมหายาน
มีการจัดตั้งองค์กรคณะสงฆ์สิงคโปร์โดยมีวัดโปร์คาร์กซีเป็นศูนย์กลาง ปัจจุบัน : ชาวสิงคโปร์ยังคงนับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายานเป็นส่วนใหญ่
ประเทศอินโดนีเซีย
: พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่เกาะชวาในพุทธศตวรรษที่ 3
สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชของอินเดีย และนิกายมหายานมารุ่งเรืองในสมัยอาณาจักรศริวิชัย
แต่พระพุทธศาสนาเลื่อมโทรมลงในพุทธศตวรรษที่ 19 พร้อมอาณาจักรศริวิชัย
และอาณาจักรมัชปาหิตเรืองอำนาจและกษัตริย์นับถือศาสนาอิสลามทำให้พระพุทธศาสนาเลื่อมลง
ปัจจุบัน : พระพุทธศาสนาในอินโดนีเซียค่อย
ๆ ฟื้นฟูโดยส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนที่ประกาศตนเป็นพุทธศาสนิกชนเพิ่มขึ้นทุกปี
โดยมีศูนย์รวมที่ปุโรพุทโธ
แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre - Test)
ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย × ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง
1. ข้อใดกล่าวถึงสถานการณ์การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศเวียดนามได้ถูกต้อง
ก.
ประชากรร้อยละ 80 นับถือพระพุทธศาสนา
ข.
ชาวเวียดนามนับถือพระพุทธศาสนาแบบนิกายมหายาน
ค.
พระพุทธศาสนานิกายมหายานได้รับอิทธิพลจากทิเบต
ง.
ปัจจุบันพระพุทธศาสนาในเวียดนามได้ล่มสลายลงหลังจากเวียดนามปกครองประเทศแบบคอมมิวนิสต์
2.
รูปแบบของพระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชาในปัจจุบันได้รับแนวการปฏิบัติตามแบบพระสงฆ์จากประเทศใด
ก.
ประเทศไทย ข. ประเทศอินเดีย
ค.
ประเทศศรีลังกา ง.
ประเทศลาว
3.
พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในยุคสมัยใด
ก. ยุคทวารวดี ข.
ยุคอาณาจักรศรีวิชัย
ค.
ยุคอาณาจักรล้านช้าง ง.
ยุคอาณาจักรล้านนา
4. ข้อใดกล่าวถึงเหตุการณ์พระพุทธศาสนาในพม่าไม่ถูกต้อง
ก.
พระพุทธศาสนาแบบนิกายเถรวาทเผยแผ่เข้าไปในพม่าเป็นครั้งแรกที่เมืองสะเทิมหรือ
สุธรรมวดี
ข. ปัจจุบันชาวพม่านับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานเป็นส่วนใหญ่
ค.
พระเจ้ามินดงได้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในพม่าโดยทรงเป็นองค์อุปถัมภ์การ
ทำสังคายนาครั้งที่ 5
ง. พระมหาเจดีย์ชเวดากองเป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า
5. พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ดินแดนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หรือดินแดนสุวรรณภูมิ
ในช่วงเหตุการณ์ใด
ก.
หลังจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ข.
หลังการแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ของพระพุทธเจ้า
ค.
หลังเสร็จสิ้นการทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 3
ง. ก่อนจะมีการทำการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 3
6.
มีหลักฐานใดแสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนานิกายมหายานเคยเจริญรุ่งเรืองในประเทศ
อินโดนีเซียในสมัยอาณาจักรศรีวิชัยมาก่อน
ก. รูปธรรมจักร ข.
พระพุทธรูปสลักหินบนเนินเขา
ค.
สถูปเจดีย์ที่พบโดยทั่วไป ง. พระวิหารบุโรพุทโธ
7. ข้อใดกล่าวถึงสถานการณ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซียไม่ถูกต้อง
ก.
พระพุทธศาสนาแบบเถรวาทเผยแผ่เข้าประเทศมาเลเซียครั้งแรกในพุทธศตวรรษที่ 3
ข.
พระพุทธศาสนาแบบมหายานเผยแผ่เข้าประเทศมาเลเซียในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย
ค.
คนที่นับถือพระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซียส่วนใหญ่เป็นชนเชื้อสายอินเดีย
ง.
ผู้นับถือพระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซียส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายจีน
8. ชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาแบบนิกายใด
ก. ขงจื๊อ ข. เต๋า
ค. เถรวาท ง. มหายาน
9.
ประเทศใดเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรแล้วมีผู้นับถือพระพุทธศาสนาน้อยที่สุด
ก. พม่า ข. ลาว
ค. กัมพูชา ง. อินโดนีเซีย
10.
ประเทศใดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับถือพระพุทธศาสนาต่างนิกายจากประเทศอื่น
ก. ไทย ข. พม่า
ค. สิงคโปร์ ง. ลาว
แบบทดสอบหลังเรียน (Post - Test)
ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย × ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง
1. พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ดินแดนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หรือดินแดนสุวรรณภูมิในช่วงเหตุการณ์ใด
ก.
หลังจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ข.
หลังการแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ของพระพุทธเจ้า
ค.
หลังเสร็จสิ้นการทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 3
ง. ก่อนจะมีการทำการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 3
2. ข้อใดกล่าวถึงเหตุการณ์พระพุทธศาสนาในพม่าไม่ถูกต้อง
ก.
พระพุทธศาสนาแบบนิกายเถรวาทเผยแผ่เข้าไปในพม่าเป็นครั้งแรกที่เมืองสะเทิมหรือ
สุธรรมวดี
ข.
ปัจจุบันชาวพม่านับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานเป็นส่วนใหญ่
ค.
พระเจ้ามินดงได้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในพม่าโดยการทรงเป็นองค์อุปถัมภ์การ
ทำสังคายนาครั้งที่ 5
ง. พระมหาเจดีย์ชเวดากองเป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า
3. พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในยุคสมัยใด
ก. ยุคทวารวดี ข. ยุคอาณาจักรศรีวิชัย
ค.
ยุคอาณาจักรล้านช้าง ง.
ยุคอาณาจักรล้านนา
4. รูปแบบของพระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชาในปัจจุบันได้รับแนวการปฏิบัติตามแบบ
พระสงฆ์จากประเทศใด
ก. ประเทศไทย ข. ประเทศอินเดีย
ค.
ประเทศศรีลังกา ง.
ประเทศลาว
5. ข้อใดกล่าวถึงสถานการณ์การนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศเวียดนามได้ถูกต้อง
ก.
ประชากรร้อยละ 80 นับถือพระพุทธศาสนา
ข.
ชาวเวียดนามนับถือพระพุทธศาสนาแบบนิกายมหายาน
ค.
พระพุทธศาสนานิกายมหายานได้รับอิทธิพลจากทิเบต
ง.
ปัจจุบันพระพุทธศาสนาในเวียดนามได้ล่มสลายลงหลังจากเวียดนามปกครองประเทศแบบคอมมิวนิสต์
6. ข้อใดกล่าวถึงสถานการณ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซียไม่ถูกต้อง
ก.
พระพุทธศาสนาแบบเถรวาทเผยแผ่เข้าประเทศมาเลเซียครั้งแรกในพุทธศตวรรษที่ 3
ข.
พระพุทธศาสนาแบบมหายานเผยแผ่เข้าประเทศมาเลเซียในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย
ค.
คนที่นับถือพระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซียส่วนใหญ่เป็นชนเชื้อสายอินเดีย
ง.
ผู้นับถือพระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซียส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายจีน
7. ชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาแบบนิกายใด
ก. ขงจื๊อ ข. เต๋า
ค. เถรวาท ง. มหายาน
8. มีหลักฐานใดแสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนานิกายมหายานเคยเจริญรุ่งเรืองในประเทศ
อินโดนีเซียในสมัยอาณาจักรศรีวิชัยมาก่อน
ก. รูปธรรมจักร ข.
พระพุทธรูปสลักหินบนเนินเขา
ค.
สถูปเจดีย์ที่พบโดยทั่วไป ง.
พระวิหารบุโรพุทโธ
9.
ประเทศใดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับถือพระพุทธศาสนาต่างนิกายจากประเทศอื่น
ก. พม่า ข. ลาว
ค. กัมพูชา ง.
อินโดนีเซีย
10. ประเทศใดเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรแล้วมีผู้นับถือพระพุทธศาสนาน้อยที่สุด
ก. ไทย ข. พม่า
ค. สิงคโปร์ ง. ลาว
เฉลย
|
||
|
No comments:
Post a Comment