Tuesday, January 2, 2018

ความสำคัญของพุทธศาสนาต่อการพัฒนาชุมชน

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4


หน่วยการเรียนรู้ที่ 4    เรื่อง  ความสำคัญของพุทธศาสนาต่อการพัฒนาชุมชน
ชื่อวิชาสังคมศึกษา    ส 22101   กลุ่มสาระการเรียนรู้  สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
รายวิชา พื้นฐาน    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2    ภาคเรียนที่ 1        เวลา 3  ชั่วโมง


1.  สาระสำคัญ
พระพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชาติไทยตั้งแต่สมัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์
ชาติไทย หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามีความสำคัญในการพัฒนาชุมชนและจัดระเบียบของสังคมไทยทั้งด้านการปกครอง การศึกษา ประเพณี วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต

2.  มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

มาตรฐานการเรียนรู้  
ส 1.1   รู้และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนา
           ที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตาม
            หลักธรรมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
       ตัวชี้วัด
1.1 ม.2/3 วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือในฐานะที่เป็น
              เป็นรากฐานของวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของชาติ และมรดกของชาติ

จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด
1. อธิบายนำเสนอการจัดระเบียบสังคมตามหลักธรรมพระพุทธศาสนา (K)
2. ศึกษา จำแนกการปฏิบัติตนตามหลักธรรมเพื่อจัดระเบียบสังคม (P)
3. เห็นคุณค่าและความสำคัญของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่สามารถนำมาใช้ใน
    การจัดระเบียบสังคมให้สงบสุข (A)
3.  สาระการเรียนรู้
ความรู้
1. ความสำคัญของพระพุทธศาสนากับการพัฒนาชุมชน
2. ความสำคัญของพระพุทธศาสนากับการจัดระเบียบสังคม
3. นาถกรณธรรม 10
4.  อปริหานิยธรรม 7
ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด
การจำแนก    การให้เหตุผล   การจัดระบบความคิดเป็นแผนภาพ    การสรุปความรู้   การตอบคำถาม 

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
รักชาติ   ศาสน์   กษัตริย์   มีวินัย   ใฝ่เรียนรู้  มีจิตสาธารณะ
          สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
                   - ความสามารถในการสื่อสาร
                   - ความสามารถในการคิด
                   - ความสามารถในการแก้ปัญหา
                   - ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

4.  กระบวนการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียน                                   ( เวลา  3  ชั่วโมง)


ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

1. ครูนำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test) มาให้นักเรียนทดสอบพื้นฐานความรู้ก่อนจัด

กิจกรรมการเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 4

ขั้นสอน

2. ครูให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน

3. ครูให้นักเรียนร่วมกันศึกษาหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่นำมาใช้ในการพัฒนาชุมชน โดยครูเขียนหัวข้อหลักธรรม นาถกรณธรรม 10 และ อปริหานิยธรรม 7 ให้นักเรียนนำเสนอแนวทางในการนำไปใช้พัฒนาชุมชนแล้วสรุปลงในแผนภาพ

4. ครูให้นักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการจัดระเบียบสังคมแสดงความคิดเห็นร่วมกัน

แล้วครูบูรณาการสรุปเป็นแผนภาพอธิบายเพิ่มเติม

ขั้นสรุป

5. ครูให้นักเรียนร่วมกันศึกษาความสำคัญของพระพุทธศาสนากับการจัดระเบียบสังคม

เบญจธรรม

เบญจศีล

โดยครูเขียนหลักธรรม ให้นักเรียนอภิปรายนำเสนอการนำหลักธรรมไปใช้ในการจัดระเบียบสังคม โดยการจำลองห้องเรียนเป็นห้องประชุมแล้วสรุปแนวทางลงในแผนภาพ

6. ให้นักเรียนทำใบงานที่ 4 การพัฒนาและจัดระเบียบสังคมตามหลักธรรมพระพุทธศาสนา

7. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน (Post-Test) เพื่อประเมินผลการเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 4
5.  แหล่งการเรียนรู้ /  สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือแบบเรียน
2.  อินเตอร์เน็ต
3.  บัตรคำรากฐานวัฒนธรรมไทย
4.  ใบงานที่ 1 พระพุทธศาสนาความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมการพัฒนาชุมชน

6.  การวัดผลและการประเมินผลการเรียนรู้
1. วิธีการวัดและประเมินผล
-  สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม
-  สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
              2. เครื่องมือ
          -    แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
 -   แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
 -   แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
-   แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
           -   แบบประเมินกิจกรรม/ใบงานรายบุคคล
   -  แบบประเมินผลงานกลุ่ม
  -   แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
3. เกณฑ์การประเมิน
     3.1 การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน
                        ผ่าน 1 รายการ ถือว่า ไม่ผ่าน
     3.2 การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
                    คะแนน      9-10         ระดับ   ดีมาก
                   คะแนน      7-8 ระดับ   ดี
                   คะแนน      5-6 ระดับ   พอใช้
                                คะแนน      0-4 ระดับ   ควรปรับปรุง
กิจกรรมเสริมการเรียนรู้
1.       แนะนำหนังสือให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมหรืออินเตอร์เน็ต ห้องสมุดโรงเรียน


7.  กิจกรรมเสนอแนะ
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
8.  บันทึกผลหลังสอน
...........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
9.ผลการสอน
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ปัญหา / อุปสรรค
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
          ข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre - Test)
ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  ×  ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง
1. หลักธรรมในข้อใดมีความหมายไม่สอดคล้องกันตามนัยแห่งการพัฒนาชุมชน
          ก. ศีล : รักษากฎระเบียบของชุมชน                         
ข. กัลยาณมิตตตา : เลือกผู้นำชุมชนที่ดีในการเป็นที่ปรึกษาและผู้นำของชุมชน
ค. พาหุสัจจะ : เชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้นำชุมชนโดยไม่มีข้อแม้                        
ง. วิริยะ : มีความขยันหมั่นเพียรแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของชุมชน
2. ข้อใดเป็นความหมายของ นาถกรณธรรม 10 ที่สอดคล้องกับการพัฒนาชุมชน
          ก. การรู้จักพึ่งพาตนเองของชุมชนในการพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ
          ข. การนำหลักธรรมมาให้คนในชุมชนได้ศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจ
          ค. การสร้างชุมชนให้เข้มแข็งทันสมัยเทียบเท่ากับชุมชนอื่น ๆ
ง. การพัฒนาชุมชนตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก
3. หลักธรรมเกี่ยวกับเบญจศีล-เบญจธรรมในข้อใดไม่สัมพันธ์กัน
          ก. ปาณาติปาตา เวรมณี : เมตตา                      
ข. อทินนาทานา เวรมณี : การมีความเพียรชอบ
          ค. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี : การสำรวมในกาม                        
ง. มุสาวาทา เวรมณี : มีสัจจะ
4. หลักธรรมใดที่สามารถสร้างความเป็นระเบียบให้กับสังคมและทำให้สังคมสงบสุขปราศจากการ
    เบียดเบียนกัน
          ก. อธิปไตย 3                                 ข. โภคยาทิยะ 5
ค. ปาปณิกธรรม 3                             ง. เบญจศีล-เบญจธรรม
5. ข้อใดเป็นความหมายของหลักธรรม อปริหานิยธรรม 7 ที่สอดคล้องกับการพัฒนาชุมชน
          ก. รู้จักรับผิดชอบการกระทำของตนเองอย่างมีเหตุมีผล                    
ข. มีวิจารณญาณไม่ใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล
ค. พอใจในสิ่งที่ตนมี ตนเป็น โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น                                      
ง. หลักของการมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ความสามัคคี การยอมรับนับถือของหมู่คณะใน
    การปฏิบัติงานร่วมกัน
6. การจัดระเบียบสังคมจะได้ผลดี คนในสังคมควรปฏิบัติเช่นไร
          ก. เคารพกฎหมายอย่างเคร่งครัด                              ข. มีความเคารพตัวเอง ละอายต่อการทำผิด
ค. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว         ง. มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง
7. ข้อใดคือบทบาทสำคัญในการพัฒนาด้านจิตใจของพระพุทธศาสนา
ก. การรณรงค์ชาวบ้านให้พัฒนาสภาพแวดล้อมในชุมชน
ข. จัดสร้างพระพุทธรูปมอบให้แก่โรงเรียน
          ค. สร้างสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าในวัด
          ง. ให้พระสงฆ์ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เด็กและเยาวชน
8. การกระทำใดที่แสดงถึงความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคมมากที่สุด
          ก. บังอร แนะนำเพื่อน ๆ ว่าให้ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม
ข. สุจิรา แนะนำให้ชาวบ้านขายข้าวในราคาประกัน
ค. วาสนา แนะนำให้เยาวชนเข้าวัดฟังธรรมทุกวันพระ
ง. เพ็ญนภา เปิดโรงเรียนสอนกวดวิชาในราคาถูกแก่นักเรียนในชนบท
9. ปัญหาในข้อใดที่พระพุทธศาสนาน่าจะมีส่วนช่วยแก้ไขมากที่สุด
ก. ปัญหาการก่อการร้าย            ข. ปัญหาน้ำมันขึ้นราคา
          ค. ปัญหาความยากจนในชุมชน     ง. ปัญหาสุขภาพของคนไทย
10. ข้อใดแสดงให้เห็นว่า วัด มีส่วนจัดสภาพแวดล้อมที่ดีแก่ชุมชน
          ก. จัดบริเวณวัดให้สะอาดร่มรื่น
ข. จัดตลาดนัดขายของราคาถูกในวัด
ค. จัดให้มีการแสดงมหรสพในวัดเพื่อความบันเทิง
ง. จัดให้มีการประกวดพระเครื่อง เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม

แบบทดสอบหลังเรียน (Post - Test)
ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  ×  ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง
1. ข้อใดเป็นความหมายของ นาถกรณธรรม 10 ที่สอดคล้องกับการพัฒนาชุมชน
          ก. การรู้จักพึ่งพาตนเองของชุมชนในการพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ
          ข. การนำหลักธรรมมาให้คนในชุมชนได้ศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจ
          ค. การสร้างชุมชนให้เข้มแข็งทันสมัยเทียบเท่ากับชุมชนอื่น ๆ
ง. การพัฒนาชุมชนตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก
2. หลักธรรมในข้อใดมีความหมายไม่สอดคล้องกันตามนัยแห่งการพัฒนาชุมชน
          ก. ศีล : รักษากฎระเบียบของชุมชน                         
ข. กัลยาณมิตตตา : เลือกผู้นำชุมชนที่ดีในการเป็นที่ปรึกษาและผู้นำของชุมชน
ค. พาหุสัจจะ : เชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้นำชุมชนโดยไม่มีข้อแม้                        
ง. วิริยะ : มีความขยันหมั่นเพียรแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของชุมชน
3. ข้อใดเป็นความหมายของหลักธรรม อปริหานิยธรรม 7 ที่สอดคล้องกับการพัฒนาชุมชน
          ก. รู้จักรับผิดชอบการกระทำของตนเองอย่างมีเหตุมีผล                    
ข. มีวิจารณญาณไม่ใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล
ค. พอใจในสิ่งที่ตนมี ตนเป็น โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น                                      
ง. หลักของการมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ความสามัคคี การยอมรับนับถือของหมู่คณะใน
    การปฏิบัติงานร่วมกัน
4. หลักธรรมใดที่สามารถสร้างความเป็นระเบียบให้กับสังคมและทำให้สังคมสงบสุขปราศจากการ
    เบียดเบียนกัน
          ก. อธิปไตย 3                                 ข. โภคยาทิยะ 5
ค. ปาปณิกธรรม 3                             ง. เบญจศีล-เบญจธรรม
5. หลักธรรมเกี่ยวกับเบญจศีล-เบญจธรรมในข้อใดไม่สัมพันธ์กัน
          ก. ปาณาติปาตา เวรมณี : เมตตา                     
ข. อทินนาทานา เวรมณี : การมีความเพียรชอบ
          ค. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี : การสำรวมในกาม                        
ง. มุสาวาทา เวรมณี : มีสัจจะ
6. ข้อใดแสดงให้เห็นว่า วัด มีส่วนจัดสภาพแวดล้อมที่ดีแก่ชุมชน
          ก. จัดบริเวณวัดให้สะอาดร่มรื่น
ข. จัดตลาดนัดขายของราคาถูกในวัด
ค. จัดให้มีการแสดงมหรสพในวัดเพื่อความบันเทิง
ง. จัดให้มีการประกวดพระเครื่อง เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม
7. ปัญหาในข้อใดที่พระพุทธศาสนาน่าจะมีส่วนช่วยแก้ไขมากที่สุด
ก. ปัญหาการก่อการร้าย                     ข. ปัญหาน้ำมันขึ้นราคา
          ค. ปัญหาความยากจนในชุมชน              ง. ปัญหาสุขภาพของคนไทย
8. การกระทำใดที่แสดงถึงความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคมมากที่สุด
          ก. บังอร แนะนำเพื่อน ๆ ว่าให้ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม
ข. สุจิรา แนะนำให้ชาวบ้านขายข้าวในราคาประกัน
ค. วาสนา แนะนำให้เยาวชนเข้าวัดฟังธรรมทุกวันพระ
ง. เพ็ญนภา เปิดโรงเรียนสอนกวดวิชาในราคาถูกแก่นักเรียนในชนบท
9. ข้อใดคือบทบาทสำคัญในการพัฒนาด้านจิตใจของพระพุทธศาสนา
ก. การรณรงค์ชาวบ้านให้พัฒนาสภาพแวดล้อมในชุมชน
ข. จัดสร้างพระพุทธรูปมอบให้แก่โรงเรียน
          ค. สร้างสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าในวัด
          ง. ให้พระสงฆ์ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เด็กและเยาวชน
10. การจัดระเบียบสังคมจะได้ผลดี คนในสังคมควรปฏิบัติเช่นไร
          ก. เคารพกฎหมายอย่างเคร่งครัด                       ข. มีความเคารพตัวเอง ละอายต่อการทำผิด
ค. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว          ง. มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง



เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน  (Pre-Test)
1. ค                   2. ก                   3. ข                   4. ง                   5. ง     
6. ก                   7. ง                   8. ก                   9. ค                   10. ก


 
เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน  (Post-Test)
1. ก                   2. ค                   3. ง                   4. ง                   5. ข    
6. ก                   7. ค                   8. ก                   9. ง                   10. ก


 
 








No comments:

Post a Comment