Tuesday, January 2, 2018

ความสำคัญของพุทธศาสนาต่อการพัฒนาชุมชน

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4


หน่วยการเรียนรู้ที่ 4    เรื่อง  ความสำคัญของพุทธศาสนาต่อการพัฒนาชุมชน
ชื่อวิชาสังคมศึกษา    ส 22101   กลุ่มสาระการเรียนรู้  สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
รายวิชา พื้นฐาน    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2    ภาคเรียนที่ 1        เวลา 3  ชั่วโมง


1.  สาระสำคัญ
พระพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชาติไทยตั้งแต่สมัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์
ชาติไทย หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามีความสำคัญในการพัฒนาชุมชนและจัดระเบียบของสังคมไทยทั้งด้านการปกครอง การศึกษา ประเพณี วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต

2.  มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

มาตรฐานการเรียนรู้  
ส 1.1   รู้และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนา
           ที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตาม
            หลักธรรมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
       ตัวชี้วัด
1.1 ม.2/3 วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือในฐานะที่เป็น
              เป็นรากฐานของวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของชาติ และมรดกของชาติ

จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด
1. อธิบายนำเสนอการจัดระเบียบสังคมตามหลักธรรมพระพุทธศาสนา (K)
2. ศึกษา จำแนกการปฏิบัติตนตามหลักธรรมเพื่อจัดระเบียบสังคม (P)
3. เห็นคุณค่าและความสำคัญของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่สามารถนำมาใช้ใน
    การจัดระเบียบสังคมให้สงบสุข (A)
3.  สาระการเรียนรู้
ความรู้
1. ความสำคัญของพระพุทธศาสนากับการพัฒนาชุมชน
2. ความสำคัญของพระพุทธศาสนากับการจัดระเบียบสังคม
3. นาถกรณธรรม 10
4.  อปริหานิยธรรม 7
ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด
การจำแนก    การให้เหตุผล   การจัดระบบความคิดเป็นแผนภาพ    การสรุปความรู้   การตอบคำถาม 

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
รักชาติ   ศาสน์   กษัตริย์   มีวินัย   ใฝ่เรียนรู้  มีจิตสาธารณะ
          สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
                   - ความสามารถในการสื่อสาร
                   - ความสามารถในการคิด
                   - ความสามารถในการแก้ปัญหา
                   - ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

4.  กระบวนการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียน                                   ( เวลา  3  ชั่วโมง)


ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

1. ครูนำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test) มาให้นักเรียนทดสอบพื้นฐานความรู้ก่อนจัด

กิจกรรมการเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 4

ขั้นสอน

2. ครูให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน

3. ครูให้นักเรียนร่วมกันศึกษาหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่นำมาใช้ในการพัฒนาชุมชน โดยครูเขียนหัวข้อหลักธรรม นาถกรณธรรม 10 และ อปริหานิยธรรม 7 ให้นักเรียนนำเสนอแนวทางในการนำไปใช้พัฒนาชุมชนแล้วสรุปลงในแผนภาพ

4. ครูให้นักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการจัดระเบียบสังคมแสดงความคิดเห็นร่วมกัน

แล้วครูบูรณาการสรุปเป็นแผนภาพอธิบายเพิ่มเติม

ขั้นสรุป

5. ครูให้นักเรียนร่วมกันศึกษาความสำคัญของพระพุทธศาสนากับการจัดระเบียบสังคม

เบญจธรรม

เบญจศีล

โดยครูเขียนหลักธรรม ให้นักเรียนอภิปรายนำเสนอการนำหลักธรรมไปใช้ในการจัดระเบียบสังคม โดยการจำลองห้องเรียนเป็นห้องประชุมแล้วสรุปแนวทางลงในแผนภาพ

6. ให้นักเรียนทำใบงานที่ 4 การพัฒนาและจัดระเบียบสังคมตามหลักธรรมพระพุทธศาสนา

7. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน (Post-Test) เพื่อประเมินผลการเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 4
5.  แหล่งการเรียนรู้ /  สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือแบบเรียน
2.  อินเตอร์เน็ต
3.  บัตรคำรากฐานวัฒนธรรมไทย
4.  ใบงานที่ 1 พระพุทธศาสนาความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมการพัฒนาชุมชน

6.  การวัดผลและการประเมินผลการเรียนรู้
1. วิธีการวัดและประเมินผล
-  สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม
-  สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
              2. เครื่องมือ
          -    แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
 -   แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
 -   แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
-   แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
           -   แบบประเมินกิจกรรม/ใบงานรายบุคคล
   -  แบบประเมินผลงานกลุ่ม
  -   แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
3. เกณฑ์การประเมิน
     3.1 การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน
                        ผ่าน 1 รายการ ถือว่า ไม่ผ่าน
     3.2 การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
                    คะแนน      9-10         ระดับ   ดีมาก
                   คะแนน      7-8 ระดับ   ดี
                   คะแนน      5-6 ระดับ   พอใช้
                                คะแนน      0-4 ระดับ   ควรปรับปรุง
กิจกรรมเสริมการเรียนรู้
1.       แนะนำหนังสือให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมหรืออินเตอร์เน็ต ห้องสมุดโรงเรียน


7.  กิจกรรมเสนอแนะ
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
8.  บันทึกผลหลังสอน
...........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
9.ผลการสอน
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ปัญหา / อุปสรรค
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
          ข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre - Test)
ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  ×  ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง
1. หลักธรรมในข้อใดมีความหมายไม่สอดคล้องกันตามนัยแห่งการพัฒนาชุมชน
          ก. ศีล : รักษากฎระเบียบของชุมชน                         
ข. กัลยาณมิตตตา : เลือกผู้นำชุมชนที่ดีในการเป็นที่ปรึกษาและผู้นำของชุมชน
ค. พาหุสัจจะ : เชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้นำชุมชนโดยไม่มีข้อแม้                        
ง. วิริยะ : มีความขยันหมั่นเพียรแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของชุมชน
2. ข้อใดเป็นความหมายของ นาถกรณธรรม 10 ที่สอดคล้องกับการพัฒนาชุมชน
          ก. การรู้จักพึ่งพาตนเองของชุมชนในการพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ
          ข. การนำหลักธรรมมาให้คนในชุมชนได้ศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจ
          ค. การสร้างชุมชนให้เข้มแข็งทันสมัยเทียบเท่ากับชุมชนอื่น ๆ
ง. การพัฒนาชุมชนตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก
3. หลักธรรมเกี่ยวกับเบญจศีล-เบญจธรรมในข้อใดไม่สัมพันธ์กัน
          ก. ปาณาติปาตา เวรมณี : เมตตา                      
ข. อทินนาทานา เวรมณี : การมีความเพียรชอบ
          ค. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี : การสำรวมในกาม                        
ง. มุสาวาทา เวรมณี : มีสัจจะ
4. หลักธรรมใดที่สามารถสร้างความเป็นระเบียบให้กับสังคมและทำให้สังคมสงบสุขปราศจากการ
    เบียดเบียนกัน
          ก. อธิปไตย 3                                 ข. โภคยาทิยะ 5
ค. ปาปณิกธรรม 3                             ง. เบญจศีล-เบญจธรรม
5. ข้อใดเป็นความหมายของหลักธรรม อปริหานิยธรรม 7 ที่สอดคล้องกับการพัฒนาชุมชน
          ก. รู้จักรับผิดชอบการกระทำของตนเองอย่างมีเหตุมีผล                    
ข. มีวิจารณญาณไม่ใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล
ค. พอใจในสิ่งที่ตนมี ตนเป็น โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น                                      
ง. หลักของการมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ความสามัคคี การยอมรับนับถือของหมู่คณะใน
    การปฏิบัติงานร่วมกัน
6. การจัดระเบียบสังคมจะได้ผลดี คนในสังคมควรปฏิบัติเช่นไร
          ก. เคารพกฎหมายอย่างเคร่งครัด                              ข. มีความเคารพตัวเอง ละอายต่อการทำผิด
ค. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว         ง. มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง
7. ข้อใดคือบทบาทสำคัญในการพัฒนาด้านจิตใจของพระพุทธศาสนา
ก. การรณรงค์ชาวบ้านให้พัฒนาสภาพแวดล้อมในชุมชน
ข. จัดสร้างพระพุทธรูปมอบให้แก่โรงเรียน
          ค. สร้างสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าในวัด
          ง. ให้พระสงฆ์ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เด็กและเยาวชน
8. การกระทำใดที่แสดงถึงความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคมมากที่สุด
          ก. บังอร แนะนำเพื่อน ๆ ว่าให้ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม
ข. สุจิรา แนะนำให้ชาวบ้านขายข้าวในราคาประกัน
ค. วาสนา แนะนำให้เยาวชนเข้าวัดฟังธรรมทุกวันพระ
ง. เพ็ญนภา เปิดโรงเรียนสอนกวดวิชาในราคาถูกแก่นักเรียนในชนบท
9. ปัญหาในข้อใดที่พระพุทธศาสนาน่าจะมีส่วนช่วยแก้ไขมากที่สุด
ก. ปัญหาการก่อการร้าย            ข. ปัญหาน้ำมันขึ้นราคา
          ค. ปัญหาความยากจนในชุมชน     ง. ปัญหาสุขภาพของคนไทย
10. ข้อใดแสดงให้เห็นว่า วัด มีส่วนจัดสภาพแวดล้อมที่ดีแก่ชุมชน
          ก. จัดบริเวณวัดให้สะอาดร่มรื่น
ข. จัดตลาดนัดขายของราคาถูกในวัด
ค. จัดให้มีการแสดงมหรสพในวัดเพื่อความบันเทิง
ง. จัดให้มีการประกวดพระเครื่อง เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม

แบบทดสอบหลังเรียน (Post - Test)
ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  ×  ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง
1. ข้อใดเป็นความหมายของ นาถกรณธรรม 10 ที่สอดคล้องกับการพัฒนาชุมชน
          ก. การรู้จักพึ่งพาตนเองของชุมชนในการพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ
          ข. การนำหลักธรรมมาให้คนในชุมชนได้ศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจ
          ค. การสร้างชุมชนให้เข้มแข็งทันสมัยเทียบเท่ากับชุมชนอื่น ๆ
ง. การพัฒนาชุมชนตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก
2. หลักธรรมในข้อใดมีความหมายไม่สอดคล้องกันตามนัยแห่งการพัฒนาชุมชน
          ก. ศีล : รักษากฎระเบียบของชุมชน                         
ข. กัลยาณมิตตตา : เลือกผู้นำชุมชนที่ดีในการเป็นที่ปรึกษาและผู้นำของชุมชน
ค. พาหุสัจจะ : เชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้นำชุมชนโดยไม่มีข้อแม้                        
ง. วิริยะ : มีความขยันหมั่นเพียรแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของชุมชน
3. ข้อใดเป็นความหมายของหลักธรรม อปริหานิยธรรม 7 ที่สอดคล้องกับการพัฒนาชุมชน
          ก. รู้จักรับผิดชอบการกระทำของตนเองอย่างมีเหตุมีผล                    
ข. มีวิจารณญาณไม่ใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล
ค. พอใจในสิ่งที่ตนมี ตนเป็น โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น                                      
ง. หลักของการมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ความสามัคคี การยอมรับนับถือของหมู่คณะใน
    การปฏิบัติงานร่วมกัน
4. หลักธรรมใดที่สามารถสร้างความเป็นระเบียบให้กับสังคมและทำให้สังคมสงบสุขปราศจากการ
    เบียดเบียนกัน
          ก. อธิปไตย 3                                 ข. โภคยาทิยะ 5
ค. ปาปณิกธรรม 3                             ง. เบญจศีล-เบญจธรรม
5. หลักธรรมเกี่ยวกับเบญจศีล-เบญจธรรมในข้อใดไม่สัมพันธ์กัน
          ก. ปาณาติปาตา เวรมณี : เมตตา                     
ข. อทินนาทานา เวรมณี : การมีความเพียรชอบ
          ค. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี : การสำรวมในกาม                        
ง. มุสาวาทา เวรมณี : มีสัจจะ
6. ข้อใดแสดงให้เห็นว่า วัด มีส่วนจัดสภาพแวดล้อมที่ดีแก่ชุมชน
          ก. จัดบริเวณวัดให้สะอาดร่มรื่น
ข. จัดตลาดนัดขายของราคาถูกในวัด
ค. จัดให้มีการแสดงมหรสพในวัดเพื่อความบันเทิง
ง. จัดให้มีการประกวดพระเครื่อง เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม
7. ปัญหาในข้อใดที่พระพุทธศาสนาน่าจะมีส่วนช่วยแก้ไขมากที่สุด
ก. ปัญหาการก่อการร้าย                     ข. ปัญหาน้ำมันขึ้นราคา
          ค. ปัญหาความยากจนในชุมชน              ง. ปัญหาสุขภาพของคนไทย
8. การกระทำใดที่แสดงถึงความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคมมากที่สุด
          ก. บังอร แนะนำเพื่อน ๆ ว่าให้ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม
ข. สุจิรา แนะนำให้ชาวบ้านขายข้าวในราคาประกัน
ค. วาสนา แนะนำให้เยาวชนเข้าวัดฟังธรรมทุกวันพระ
ง. เพ็ญนภา เปิดโรงเรียนสอนกวดวิชาในราคาถูกแก่นักเรียนในชนบท
9. ข้อใดคือบทบาทสำคัญในการพัฒนาด้านจิตใจของพระพุทธศาสนา
ก. การรณรงค์ชาวบ้านให้พัฒนาสภาพแวดล้อมในชุมชน
ข. จัดสร้างพระพุทธรูปมอบให้แก่โรงเรียน
          ค. สร้างสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าในวัด
          ง. ให้พระสงฆ์ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เด็กและเยาวชน
10. การจัดระเบียบสังคมจะได้ผลดี คนในสังคมควรปฏิบัติเช่นไร
          ก. เคารพกฎหมายอย่างเคร่งครัด                       ข. มีความเคารพตัวเอง ละอายต่อการทำผิด
ค. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว          ง. มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง



เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน  (Pre-Test)
1. ค                   2. ก                   3. ข                   4. ง                   5. ง     
6. ก                   7. ง                   8. ก                   9. ค                   10. ก


 
เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน  (Post-Test)
1. ก                   2. ค                   3. ง                   4. ง                   5. ข    
6. ก                   7. ค                   8. ก                   9. ง                   10. ก


 
 








ความสำคัญของพุทธศาสนาต่อสังคมไทย

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3


หน่วยการเรียนรู้ที่ 3    เรื่อง  ความสำคัญของพุทธศาสนาต่อสังคมไทย
ชื่อวิชาสังคมศึกษา    ส 22101   กลุ่มสาระการเรียนรู้  สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
รายวิชา พื้นฐาน    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2    ภาคเรียนที่ 1        เวลา 3  ชั่วโมง


1.  สาระสำคัญ
รากฐานทางวัฒนธรรมไทยรวมถึงเอกลักษณ์และมรดกของชาติล้วนมีที่มาจากพระพุทธศาสนา

2.  มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

มาตรฐานการเรียนรู้  
ส 1.1  รู้และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนา
        ที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตาม
          หลักธรรมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
       ตัวชี้วัด
1.1 ม.2/3 วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือในฐานะที่เป็น
               เป็นรากฐานของวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของชาติ และมรดกของชาติ

จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด
1.       วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นรากฐานของวัฒนธรรม
เอกลักษณ์ของชาติ และมรดกของชาติ (K)
2.  จำแนกความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นรากฐานของวัฒนธรรม เอกลักษณ์
ของชาติ และมรดกของชาติ (P)
3.  เห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นรากฐานทางวัฒนธรรม เอกลักษณ์ และมรดก
ของชาติไทยที่ควรศึกษาและอนุรักษ์ไว้ (A)
3.  สาระการเรียนรู้
ความรู้
          ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทยในฐานะเป็นรากฐานของวัฒนธรรม
เอกลักษณ์ และมรดกของชาติ
ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด
การจำแนก    การให้เหตุผล   การจัดระบบความคิดเป็นแผนภาพ    การสรุปความรู้   การตอบคำถาม 
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
รักชาติ   ศาสน์   กษัตริย์   มีวินัย   ใฝ่เรียนรู้  มีจิตสาธารณะ
         
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
                   - ความสามารถในการสื่อสาร
                   - ความสามารถในการคิด
                   - ความสามารถในการแก้ปัญหา
                   - ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
4.  กระบวนการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียน                                   ( เวลา  3  ชั่วโมง)
          ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. ครูนำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test) เพื่อทดสอบพื้นฐานความรู้ก่อนจัดกิจกรรม
การเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 3
ขั้นสอน
2. ครูให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่ว่า พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมไทย  เช่น  (ภาษา   ศีลปะ  ประเพณี  จิตใจ) แล้วแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น
          จากนั้นแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่ม ทำบัตรคำและจับสลากบัตรคำเพื่อศึกษาวิเคราะห์ และสรุปความรู้ทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ และมรดกของชาติไทยนำเสนอแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ระหว่างกลุ่มหน้าชั้นเรียน
3. จบการนำเสนอของทุกกลุ่ม  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้บูรณาการเป็นแผนภาพบนกระดานอธิบายเพิ่มเติม ดังตัวอย่าง
ขั้นสรุป
4. จบการนำเสนอของทุกกลุ่มครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้บูรณาการเป็นแผนภาพบนกระดานอธิบายเพิ่มเติม
          5. ให้นักเรียนทำใบงานที่ 3 ความสำคัญของพระพุทธศาสนา
          6. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน (Post-Test)   เพื่อประเมินผลการเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่3

5.  แหล่งการเรียนรู้ /  สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือแบบเรียน
2.  อินเตอร์เน็ต
3.  บัตรคำรากฐานวัฒนธรรมไทย
4.  ใบงานที่ 1 พระพุทธศาสนาความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย
6.  การวัดผลและการประเมินผลการเรียนรู้
1. วิธีการวัดและประเมินผล
-  สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม
-  สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
              2. เครื่องมือ
          -    แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
 -   แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
 -   แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
-   แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
           -   แบบประเมินกิจกรรม/ใบงานรายบุคคล
   -  แบบประเมินผลงานกลุ่ม
  -   แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
3. เกณฑ์การประเมิน
     3.1 การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน
                        ผ่าน 1 รายการ ถือว่า ไม่ผ่าน
     3.2 การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
                    คะแนน      9-10         ระดับ   ดีมาก
                   คะแนน      7-8 ระดับ   ดี
                   คะแนน      5-6 ระดับ   พอใช้
                                คะแนน      0-4 ระดับ   ควรปรับปรุง
กิจกรรมเสริมการเรียนรู้
1.       แนะนำหนังสือให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมหรืออินเตอร์เน็ต ห้องสมุดโรงเรียน





แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre - Test)

ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  ×  ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง
1. ข้อใดกล่าวถึงวัฒนธรรมทางด้านภาษาไทยได้ถูกต้อง
          ก. ภาษาไทยเป็นภาษาดั้งเดิมไม่ได้เปลี่ยนแปลงใด ๆ
          ข. ภาษาไทยพัฒนามาจากภาษาของขอมเป็นหลัก
          ค. ภาษาไทยมีภาษาบาลีสันสกฤตที่สืบทอดจากพระพุทธศาสนา
          ง. ภาษาไทยพัฒนามาจากทุก ๆ ภาษาในเอเชีย
2. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย
          ก. วัฒนธรรมไทยส่วนใหญ่สืบทอดมาจากศาสนาพราหมณ์
          ข. วัฒนธรรมไทยมีรากฐานมาจากพระพุทธศาสนา
          ค. วัฒนธรรมไทยเป็นเอกลักษณ์เฉพาะสังคมไทย
          ง. วัฒนธรรมไทยเป็นมรดกของชาติไทย
3. สมศรี ตั้งชื่อลูกสาวที่เกิดใหม่ว่า ปวันรัตน์ แสดงถึงวัฒนธรรมด้านใดที่สืบทอดมาจาก
    พระพุทธศาสนา
ก. ประเพณี                                             ข. ภาษา
          ค. จิตใจ                                                 ง. ศิลปะ
4. ประเพณีในข้อใดที่ไม่ได้สืบเนื่องมาจากพระพุทธศาสนา
ก. การทำบุญวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ข. ประเพณีแข่งเรือประจำปีของจังหวัด
          ค. ประเพณีทำบุญขึ้นบ้านใหม่                         ง. ประเพณีสงกรานต์
5. ข้อใดเป็นงานพุทธศิลป์ด้านประติมากรรม
ก. พระพุทธชินราช                                    
ข. ภาพวาดฝาผนังพระอุโบสถวัดพระแก้ว
          ค. พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ง. รูปปั้นยักษ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ
6. ศิลปสถาปัตยกรรมในข้อใดที่สืบทอดมาจากพระพุทธศาสนา
ก. พระที่นั่งอนันตสมาคม           ข. อาคารรัฐสภา
          ค. ทำเนียบรัฐบาล                            ง. พระบรมมหาราชวัง
7. วรรณคดีไทยประเภทใดที่ไม่ได้สืบทอดจากพระพุทธศาสนา
ก. ไตรภูมิพระร่วง                             ข. ปฐมสมโพธิกถา
          ค. มหาชาติคำหลวง                          ง. นิทานอีสป

8. ทำอย่างไรวัฒนธรรมที่เป็นมรดกเอกลักษณ์ของชาติไทยจึงจะดำรงอยู่คู่กับชาติไทยตลอดไป
ก. นำวัฒนธรรมไทยมาประยุกต์ให้ทันสมัยขึ้น
          ข. นำวัฒนธรรมไทยไปปฏิบัติร่วมกับวัฒนธรรมอื่น
          ค. ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้นเพราะวัฒนธรรมไทยดีอยู่แล้ว
          ง. ศึกษาให้รู้เห็นคุณค่าแล้วร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานต่อไป
9. ความโอบอ้อมอารี อ่อนน้อมถ่อมตน กตัญญูกตเวที เป็นลักษณะวัฒนธรรมทางด้านใดของคนไทย
    ที่ได้รับการสืบทอดมาจากพระพุทธศาสนา
ก. ประเพณี                                   ข. วรรณกรรม
          ค. จิตใจ                                       ง. ศิลปะ
10. เหตุใดจึงกล่าวว่า พระพุทธศาสนามีความสำคัญในฐานะเป็นรากฐานของวัฒนธรรม เอกลักษณ์ 
      และมรดกของชาติไทย
ก. เพราะพระพุทธศาสนาสอนให้ทำดี
          ข. เพราะพระพุทธศาสนาเกิดมาพร้อมกับประวัติศาสตร์ไทย
          ค. เพราะพระพุทธศาสนาทำให้ประเทศไทยเป็นเอกราช
ง. เพราะพระพุทธศาสนาเป็นบ่อเกิดทั้งด้านภาษา ศิลปะ ประเพณี และจิตใจ รวมเป็น
    วิถีชีวิตของคนไทย


แบบทดสอบหลังเรียน (Post - Test)
ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  ×  ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง
1. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย
          ก. วัฒนธรรมไทยส่วนใหญ่สืบทอดมาจากศาสนาพราหมณ์
          ข. วัฒนธรรมไทยมีรากฐานมาจากพระพุทธศาสนา
          ค. วัฒนธรรมไทยเป็นเอกลักษณ์เฉพาะสังคมไทย
          ง. วัฒนธรรมไทยเป็นมรดกของชาติไทย
2. สมศรี ตั้งชื่อลูกสาวที่เกิดใหม่ว่า ปวันรัตน์ แสดงถึงวัฒนธรรมด้านใดที่สืบทอดมาจาก
    พระพุทธศาสนา
ก. ประเพณี                                   ข. ภาษา
          ค. จิตใจ                                       ง. ศิลปะ
3. ข้อใดกล่าวถึงวัฒนธรรมทางด้านภาษาไทยได้ถูกต้อง
          ก. ภาษาไทยเป็นภาษาดั้งเดิมไม่ได้เปลี่ยนแปลงใด ๆ
          ข. ภาษาไทยพัฒนามาจากภาษาของขอมเป็นหลัก
          ค. ภาษาไทยมีภาษาบาลีสันสกฤตที่สืบทอดจากพระพุทธศาสนา
          ง. ภาษาไทยพัฒนามาจากทุก ๆ ภาษาในเอเชีย
4. วรรณคดีไทยประเภทใดที่ไม่ได้สืบทอดจากพระพุทธศาสนา
ก. ไตรภูมิพระร่วง                             ข. ปฐมสมโพธิกถา
          ค. มหาชาติคำหลวง                          ง. นิทานอีสป
5. ศิลปสถาปัตยกรรมในข้อใดที่สืบทอดมาจากพระพุทธศาสนา
ก. พระที่นั่งอนันตสมาคม           ข. อาคารรัฐสภา
          ค. ทำเนียบรัฐบาล                            ง. พระบรมมหาราชวัง
6. ข้อใดเป็นงานพุทธศิลป์ด้านประติมากรรม
ก. พระพุทธชินราช                           ข. ภาพวาดฝาผนังพระอุโบสถวัดพระแก้ว
          ค. พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชง. รูปปั้นยักษ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ
7. ประเพณีในข้อใดที่ไม่ได้สืบเนื่องมาจากพระพุทธศาสนา
ก. การทำบุญวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
          ข. ประเพณีแข่งเรือประจำปีของจังหวัด
          ค. ประเพณีทำบุญขึ้นบ้านใหม่
          ง. ประเพณีสงกรานต์
8. ความโอบอ้อมอารี อ่อนน้อมถ่อมตน กตัญญูกตเวที เป็นลักษณะวัฒนธรรมทางด้านใดของคนไทย
    ที่ได้รับการสืบทอดมาจากพระพุทธศาสนา
ก. ประเพณี                                   ข. วรรณกรรม
          ค. จิตใจ                                       ง. ศิลปะ
9. เหตุใดจึงกล่าวว่า พระพุทธศาสนามีความสำคัญในฐานะเป็นรากฐานของวัฒนธรรม เอกลักษณ์ 
    และมรดกของชาติไทย
ก. เพราะพระพุทธศาสนาสอนให้ทำดี
          ข. เพราะพระพุทธศาสนาเกิดมาพร้อมกับประวัติศาสตร์ไทย
          ค. เพราะพระพุทธศาสนาทำให้ประเทศไทยเป็นเอกราช
ง. เพราะพระพุทธศาสนาเป็นบ่อเกิดทั้งด้านภาษา ศิลปะ ประเพณี และจิตใจ รวมเป็น
    วิถีชีวิตของคนไทย
10. ทำอย่างไรวัฒนธรรมที่เป็นมรดกเอกลักษณ์ของชาติไทยถึงจะดำรงอยู่คู่กับชาติไทยตลอดไป
ก. นำวัฒนธรรมไทยมาประยุกต์ให้ทันสมัยขึ้น
          ข. นำวัฒนธรรมไทยไปปฏิบัติร่วมกับวัฒนธรรมอื่น
          ค. ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้นเพราะวัฒนธรรมไทยดีอยู่แล้ว
          ง. ศึกษาให้รู้เห็นคุณค่าแล้วร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานต่อไป








เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน  (Post-Test)
1. ก                   2. ข                   3. ค                   4. ง                   5. ง
6. ก                   7. ข                   8. ค                   9. ง                   10. ง
 

เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน  (Pre-Test)
1. ค                   2. ก                   3. ข                   4. ข                   5. ก
6. ง                   7. ง                   8. ง                   9. ค                   10. ง